24 ชั่วโมงกับการดูแลตัวเองแบบทฤษฎีแพทย์แผนจีน
เวลามีความสัมพันธ์กับระบบอวัยวะต่างๆของมนุษย์ ในเวลา 24 ชั่วโมง ร่างกายของมนุษย์มีการไหลเวียนของพลังชีวิตผ่านอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย เราจึงควรมีการดูแลตัวเองให้สัมพันธ์และเหมาะสมกับช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อการมีสุขภาพที่สมบูรณ์อยู่เสมอ
1-3 นาฬิกา กลางวัน : ลำไส้เล็ก (小肠 xiǎo cháng ) ควรงดทานอาหารและดื่มน้ำมากๆ ถ้าลำไส้เล็กผิดปกติจะเกิดอาการท้องเสีย
1-3 นาฬิกา กลางคืน : ตับ (肝gān) ควรหลับพักผ่อนให้สนิท หากผิดปกติจะมีอาการปวดแน่นสีข้าง แขนขาชา อารมณ์ผันผวน
3-5 นาฬิกา กลางวัน : กระเพาะปัสสาวะ (膀胱páng guāng) ควรทำให้ตนเองเหงื่อออก ถ้ากระเพาะปัสสาวะผิดปกติจะเกิดอาการปัสสาวะคั่ง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
3-5 นาฬิกา กลางคืน : ปอด (肺fèi) ช่วงเวลานี้ควรตื่นนอน สูดอากาศสดชื่น ถ้าปอดผิดปกติจะเกิดอาการไอหอบ เลือดกำเดาออก แขนขาบวม
5-7 นาฬิกา กลางวัน : ลำไส้ใหญ่ (大肠dà cháng) ควรขับถ่ายอุจจาระ ทานอาหารกากใยสูง ถ้าลำไส้ใหญ่ผิดปกติจะมีอาการท้องร่วง ถ่ายเป็นเลือด
5-7 นาฬิกา กลางคืน : ไต (肾shèn) ควรทำตัวให้สดชื่น ทานอาหารที่มีเกลือต่ำ ถ้าไตผิดปกติจะปัสสาวะน้อย อ่อนเพลีย มือเท้าไม่มีแรง
7-9 นาฬิกา กลางวัน : กระเพาะอาหาร (胃wèi) ควรทานอาหารเช้าที่มีพลังงานและสารอาหารอย่างน้อยร้อยละ 25 ของปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน ถ้ากระเพาะอาหารผิดปกติจะมีอาการสะอึก อาเจียน
7-9 นาฬิกา กลางคืน : เยื่อหุ้มหัวใจ (心包xīn bāoควรทานอาหารจำพวกวิตามินบี ถ้าเยื่อหุ้มหัวใจผิดปกติจะเกิดโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ มีอาการเจ็บแปลบ แน่นหน้าอก
9-11 นาฬิกา กลางวัน : ม้าม (脾pí ) ช่วงเวลานี้ไม่ควรนอนหลับ ถ้าม้ามผิดปกติจะเกิดอาการเบื่ออาหาร ริมฝีปากซีด ชีพจรอ่อน
9-11 นาฬิกา กลางคืน : ซานเจียว (三焦sān jiāo) หรือระบบความร้อนของร่างกาย เป็นทางผ่านของของเหลวตั้งแต่ปอดตลอดจนถึงอวัยวะเพศ เพื่อขจัดของเสียออกจากร่างกาย ช่วงเวลานี้ควรทำให้ร่างกายอบอุ่น ห้ามอาบน้ำเย็น
11-1 นาฬิกา กลางวัน : หัวใจ (心xīn) ช่วงเวลานี้ควรหลีกเลี่ยงความเครียด ถ้าหัวใจผิดปกติจะเกิดอาการชีพจรไม่สม่ำเสมอ หายใจขัด ใจสั่น
11-1 นาฬิกา กลางคืน : ถุงน้ำดี (胆dǎn) ควรทานอาหารไขมันต่ำ ดื่มน้ำสะอาดก่อนเข้านอน ถ้าถุงน้ำดีผิดปกติจะมีอาการมึนงง ผิวเหลือง อาเจียน ร้อนๆ หนาวๆ
จากคอลัมน์ ของฝากจากชั้น 4 หน้าที่ 13
หนังสือนานมีนิวส์ เล่มที่ 9
สิงหาคม 2012