ศิลปะการตัดกระดาษจีน
ศิลปะการตัดกระดาษจีน
ประวัติศิลปะการตัดกระดาษแบบจีนศิลปะการตัดกระดาษแบบจีนเริ่มขึ้นสมัยซีฮั่น (西汉)ทว่าก่อนหน้าซึ่งยังไม่มีการคิดค้นกระดาษขึ้นมานั้น ก็มีความนิยมในการตัด ฉลุ เจาะ แผ่นทอง แผ่นหนัง ผืนผ้า แม้กระทั่งใบไม้ให้มีลวดลายต่างๆ เกิดขึ้นมาแล้ว โดยในประเทศจีนมีการค้นพบศิลปะการตัดกระดาษครั้งแรกเมื่อปี 1967 เมื่อนักโบราณคดีค้นพบกระดาษที่ตัดแบจีน 2 ใบ แปะอยู่ในบริเวณสุสานโบราณเมืองทูลูฟัน ในเขตปกครอง ตนเองซินเกียง โดยกระดาษที่ใช้ทํามาจากใบปอ
กระดาษ เป็นวัสดุที่ขึ้นราและเปื่อยง่ายยิ่งในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นอย่างจีนตะวันออกเฉียงใต้และฝนที่มักจะตกในเดือน พฤษภาคมถึงมิถุนายน ด้วยแล้วยิ่งทําให้กระดาษเปื่อยและขึ้นราซึ่งศิลปะการตัดกระดาษพื้นบ้านนั้นเป็นศิลปะมวลชน ผู้คนจะไม่เก็บรักษาอย่างดีเหมือนศิลปะล้ําค้าอื่นๆ หากผุพังแล้วก็สามารถตัดขึ้นมาใหม่ได้ส่วนทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีนซึ่งแห้งแล้งนั้น กระดาษไม่ค่อยขึ้นราหรือเปื่อยยุ้ยจึงอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทําให้มีการค้นพบศิลปะการตัดกระดาษที่ทูลูฟันก็เป็นได้
สมัยถังการตัดกระดาษมีการพัฒนาขึ้นอย่างมากแล้ว ในบทกวีของตู้ฝูกล่าวไว้ว่า “น้ําอุ่นรินรดเท้าข้า กระดาษตัดมาชี้นําวิญญาณ” โดยในสมัยนั้น การใช้กระดาษตัดเรียกวิญญาณ เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่ ชาวบ้าน การใช้กระดาษตัดเรียกวิญญาณนั้น ใช้กับวิญญาณที่ตายอย่างไม่ปกติ เช่น อุบัติเหตุ โดยส่วนใหญ่ผู้ทําพิธีต้องเกี่ยวข้องกับผู้ตายทางสายเลือดชาวจีนผู้เคยร่วมในพิธีเรียกวิญญาณเล่าว่าการใช้กระดาษเรียกวิญญาณนั้น จะต้องตัดกระดาษเป็นรูปเรือใบ นํามาห่อยอดข้าวเกาเหลียงและเมื่อถึงวันทําพิธีฝังศพ ให้ญาติ(หากเป็นลูกชายจะดีมาก) สวมผ้ากระสอบ ในมือถือกระดาษเรียกวิญญาณที่เตรียมไว้นี้ เดิน นําหน้าหีบศพ เพื่อเป็นการชักนําดวงวิญญาณให้หาทางกลับบ้านถูกและไปสู่สุขคติเมื่อทําพิธีฝังเรียบร้อย
นอกจากนี้ในสมัยถังยังใช้รูปตัดกระดาษเป็นแบบในการพิมพ์ผ้าโดยนํากระดาษหนามาตัดเป็นลวดลายต่างๆ ทาบลงบนผ้าแล้วจึงลงสีไปบนผ้าส่วนที่พ้นจากกระดาษออกมากลายเป็นลวดลายที่งดงามต่างๆ การตัดกระดาษสมัยซ่งพัฒนาถึงขั้นที่เริ่มอยู่ตัวกระดาษกลายเป็นสินค้าที่ผู้คนนิยมซื้อหาซึ่งเป็นการยกระดับศิลปะการตัดกระดาษด้วย เช่น กลายเป็นของขวัญ เป็นที่ตกแต่งโคมไฟ เป็นต้น ผู้คนในสมัยซ่งใช้กระดาษตัดในโอกาสที่หลากหลายขึ้น เตาเผาจี๋โจว ที่เจียงซีนํากระดาษตัดมาใช้เป็นลวดลายของเครื่องปั้นดินเผา เมื่อผ่านการเคลือบ และเผาก็จะงดงามมากขึ้น นอกจากนี้ลวดลายของศิลปะการพิมพ์ผ้าสี ขาว-ครามนั้นยังใช้การฉลุกระดาษให้เป็นลายก่อน แล้วจึงพิมพ์ลายลงบนผ้า
สมัยหมิงและชิงนั้น เป็นช่วงที่ศิลปะการตัดกระดาษพัฒนาถึงขีดสุดการใช้สอยก็กว้างขวางมากขึ้น โดยเฉพาะชาวบ้านนิยมใช้กระดาษตัดมาประดับตกแต่งบ้านกันอย่างแพร่หลายเช่น ที่ประตู หน้าต่าง หิ้ง หรือเพดาน ต่างก็มีการใช้กระดาษฉลุลายตกแต่งทั้งสิ้น ซึ่งหากไม่นับช่างตัดกระดาษในสมัยหนานซ่งแล้ว หลังจากยุคนั้น ผู้ที่เชี่ยวชาญการตัดกระดาษแทบทั้งสิ้นเป็นหญิงชาวบ้าน โดยพวกเขาเรียนรู้จากรุ่นสู่รุ่น นอกจากนี้สัญลักษณ์หนึ่งของชาวจีนโบราณคือช่างปักหญิง ซึ่งคุณสมบัติที่สําคัญของช่างปักก็คือต้องสามารถตัดกระดาษแบบจีนได้นั่นเองดังนั้นการตัดกระดาษจึงกลายเป็นงานฝีมือที่ผู้หญิงจําเป็นที่จะต้องมีความเชี่ยวชาญ ความชํานาญในการตัดกระดาษยังเป็นสิ่งที่คนใช้ประเมินว่าใครจะเป็นเจ้าสาวที่ดีได้ด้วย
วิธีการตัดกระดาษ
การตัดกระดาษไม่ได้ใช้เครื่องจักร แต่เป็นงานฝีมือที่ทําจากมือ ซึ่งมีวิธีทําหลัก ๆ มีอยู่ 2 วิธี คือ ใช้กรรไกรตัด และ ใช้มีดตัดวิธีการใช้กรรไกรตัด หลังจากตัดเสร็จแล้ว จะนํากระดาษมาซ้อนกันหลายๆแผ่น(ไม่เกิน 8 แผ่น) แล้ว จึงตกแต่งด้วยมีดอีกครั้งให้เรียบร้อยส่วนการใช้มีดตัดนั้น จะต้องนํากระดาษที่จะตัดมาซ้อนๆกันก้อน แล้ววางลงบนดินน้ํามันหรือไขที่มีความอ่อนนุ่ม แล้วจึงค่อยใช้มีดเล็กมาเริ่มต้นตัดซึ่งวิธีใช้มีดตัดจะสะดวกกว่าใช้กรรไกรตัดเล็กน้อย เนื่องจากตัดแค่รอบเดียว
ประโยชน์ใช้สอย
ศิลปะการตัดกระดาษ เป็นศิลปะพื้นบ้านอันเป็นที่นิยมยิ่งอย่างหนึ่งในประเทศจีนศิลปะการตัดกระดาษมักใช้ในพิธีทางศาสนา และใช้ในการประดับตกแต่งสร้างสรรค์งานศิลปะต่างๆ ในอดีต มีการนิยมนํากระดาษมาสร้างเป็นรูปคน รูปสัตว์ในอิริยาบถต่างๆแล้วจึงนําไปเผาหรือฝังไปพร้อมกับผู้เสียชีวิตในงานฌาปนกิจศพซึ่งประเพณีเช่นนี้ อาจจะยังสามารถพบได้ในบางพื้นที่แถบชนบทของประเทศจีนนอกจากนั้นยังถูกนําไป ใช้ประดับตกแต่งในพิธีบูชาบรรพบุรุษและเทพเจ้าต่างๆ
ปัจจุบันนี้ ศิลปะการตัดกระดาษใช้มากที่สุดในงานประดับตกแต่งเช่นกําแพง ประตู-หน้าต่าง เสาบ้าน กระจก และโคมไฟ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นเครื่องตกแต่งของขวัญของฝาก หรือตัวกระดาษที่ถูกตัดเรียบร้อยแลวนี้ยังสามารถที่จะใช้เป็นของขวัญของฝากได้อีกด้วย ในสมัยโบราณกระดาษที่ถูกตัดแล้วยังถูกนําไปใช้เป็นแม่แบบในการเย็บปักและการ พ่นสีอีกด้วย
ที่มาข้อมูล :http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9500000047596
http://tcm.dtam.moph.go.th/images/stories/kch004.pdf
ที่มารูปภาพ :http://thai.cri.cn/